Facilities

เครื่องจักรหรือเครื่องมือ ที่ใช้กระบวนการผลิต ระบบควบคุมคุณภาพ

ข้อมูลเครื่องจักรหลัก

เครื่องคาร์เลนเดอร์

เครื่องคาร์เลนเดอร์ (Calender)

ประกอบไปด้วยเครื่องต้มเพื่อหลอมพีวีซี และชุดของลูกกลิ้งที่ทำการกดและรีด พีวีซี ให้ออกมาเป็นแผ่น และชุดลูกกลิ้งระบายความร้อนเพื่อให้พีวีซีคงตัว รวมถึงใช้ทำการประกบผ้าหรือแผ่นพีวีซีชั้นอื่นได้อีกด้วย 

เครื่องคาร์เลนเดอร์ มีที่มาจากการผลิตสิ่งทอและกระดาษตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่สิบแปดในประเทศจีนและมีการพัฒนาเพื่อนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์พลาสติกในภายหลัง โดยเริ่มมีการพัฒนาเครื่องคาร์เลนเดอร์ให้ใช้กับพีวีซีทั้งในเยอรมนีและสหรัฐอเมริกา แต่เครื่องแรกที่ทำการผลิตได้สำเร็จมาจากเยอรมนีโดยบริษัท Hermann Berstorff ในปี ค.ศ. 1935

ปัจจุบันเครื่องคาร์เลนเดอร์มี ลูกกลิ้งแข็ง ที่ทำจาก เหล็กหล่อ(Cast iron) หรือ เหล็กกล้า(Steel) และลูกกลิ้งอ่อน ที่เคลือบด้วยวัสดุ พอลิเมอร์

*เกร็ดน่ารู้ – คาร์เลนเดอร์ (Calender) มักถูกสะกดผิดเป็น คาร์เลนดาร์ (Calendar) ที่แปลว่าปฏิทิน

เครื่องอบฟองน้ำ

เครื่องอบฟองน้ำ (Foaming Oven)

ประกอบไปด้วยชุดเครื่องอบที่ต่อกันเป็นอุโมงค์เพื่อให้แยกควบคุมอุณหภูมิในแต่ละส่วนได้ และชุดลูกกลิ้งระบายความร้อนหลังจากอบ มีไว้เพื่อทำการอบผลิตภัณฑ์ให้ชั้นฟองน้ำพองตัวตามความหนาที่ต้องการ

เครื่องเคลือบน้ำยา

เครื่องเคลือบน้ำยา (Coating Machine)

ประกอบไปด้วยเครื่องผสมน้ำยาเคลือบผิว เครื่องเคลือบน้ำยาที่ทำการดึงม้วนผลิตภัณฑ์ให้ทำการจุ่มผิวหน้าไปที่ถาดน้ำยาเคลือบ และเครื่องอบเพื่อทำให้น้ำยาเคลือบผิวแห้ง

การเคลือบผิวสินค้าทำเพื่อเพิ่มความคงทน ป้องกันสิ่งสกปรก กันรอยขีดข่วน โดยสามารถเลือกระดับความเงา-ด้านให้กับสินค้าได้

เครื่องอัดลาย

เครื่องอัดลาย (Embossing Machine)

เป็นเครื่องที่ใช้ลูกกลิ้งแกะลายกดทับไปที่ผลิตภัฑ์เพื่อให้เกิดลวดลายที่ต้องการ หรือใช้พิมพ์สีลงไปที่ผิวหน้าของผลิตภัณฑ์ให้เป็นลวดลายตามลูกกลิ้ง 

ปัจจุบันได้ดัดแปลงเครื่องให้ทำงานได้หลากหลายอย่างมากขึ้นทั้ง อัดลาย พิมพ์สี ประกบชั้นผลิตภัณฑ์ให้ติดกัน

เครื่องพิมพ์สี

เครื่องพิมพ์สี (Color Printer)

เป็นเครื่องที่ใช้ลูกกลิ้งแกะลายพิมพ์สีลงไปที่ผิวหน้าของผลิตภัณฑ์ให้เป็นลวดลายตามลูกกลิ้ง

ระบบควบคุมคุณภาพ

เครื่องวัดสี (Spectrophotometer)

ใช้เครื่อง Datacolor DC200 เครื่องวัดสี อ่านค่าสี มีความแม่นยำสูง ใช้ร่วมกับโปรแกรมช่วยคำนวณสูตรในการผสมสี

เครื่องวัดสี

เครื่องวัดและควบคุมความหนา (Thickness Control)

ใช้ข้อมูลจากเครื่องวัดความหนาเชื่อมต่อกับเครื่องควบคุมความหนาทำให้สามารถปรับตั้งเครื่องจักรในกระบวนการผลิตได้ทันทีเพื่อให้ได้ชิ้นงานที่มีความหนาที่สม่ำเสมอ

*หน่วยวัดความหนาที่ใช้คือ มิลลิเมตร แต่หน่วยที่ใช้วัดความกว้างของหน้าผ้าและความยาวต่อม้วนกลับใช้เป็น นิ้ว,หลา ตามลำดับ ซึ่งคาดว่ามาจากวงการสิ่งทอและตัดเย็บเสื้อผ้าที่ยังนิยมใช้หน่วยวัดความยาวระบบอังกฤษอยู่

เครื่องควบคุมความหนา

การตรวจสอบและแบ่งบรรจุ (Packing)

ตรวจสอบตำหนิ รอยต่อของผ้า รอยยับ วัดความยาวเพื่อแบ่งเป็นม้วนเล็ก หลังจากนั้นทำการห่อและติดฉลาก

*นิยมใช้หน่วยวัดความยาวเป็นหลา

ตรวจสอบและแบ่งบรรจุ

ระบบคลัง

มีระบบ ERP ช่วยในการควบคุมคลัง ทั้งคลังสินค้าและคลังวัตถุดิบ

คลังสินค้า

ระบบฟอกอากาศสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม

ในกระบวนการผลิตจะมีไอระเหยจากน้ำมันที่ใส่ในผลิตภัณฑ์เกิดขึ้นโดยส่วนมากจะเกิดที่ขั้นตอนที่มีการใช้ความร้อนสูง เช่น การอบ การต้ม ทางโรงงานได้ใช้เครื่องกำจัดไอน้ำมันและสารระเหยด้วยระบบไฟฟ้า เพื่อให้อากาศที่ปล่อยออกสู่ภายนอกได้ตามมาตรฐานสิ่งแวดล้อม

เครื่องฟอกอากาศอุตสาหกรรม